วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเป็นมา
เนื่องจากเกาะสีชังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่หนึ่งในจังหวัดชลบุรีมีผู้คนไปเที่ยวเป็นจำนวนมากผลกระทบที่จะตามมาก็คือปัญหาขยะนั้นเองทำไห้กลุ่มของเราได้ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าควรทำเรื่องปัญหาขยะบนเกาะดีไหมและก็ได้ดำเนินการไปศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะสีชังพบว่ามีจำนวนขยะมูลฝอยเยอะในบางพื้นที่ พื้นที่บางส่วนที่เราไปศึกษามานั้นเป็นแหล่งที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย จึงทำให้พื้นที่เหล่านั้นไม่มีบุคคลคอยดูแลและใส่ใจทำให้บริเวณพื้นที่เหล่านั้นสกปรก รกร้าง และมีขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก ทั้งนั้นยังส่งกลิ่นเหม็นทำลายธรรมชาติและมนุษย์ บริเวณที่พบขยะจำพวกนี้มากมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ๆคือ


แหลมจักรพงษ์

ขยะที่พบบริเวณนี้จำพวก ขวดแก้ว เครื่องดื่มต่างๆ ถุงพลาสติก โฟม ฯลฯ กระจัดกระจายทั่วบริเวณแหลม ขยะส่วนใหญ่อาจจะมาจาก นักท่องเที่ยวหรือชาวบ้านที่ไม่ช่วยกันรักษาความสะอาดของเกาะทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ถังขยะมีจำนวนไม่มากพอกับจำนวนขยะ





ภาพจากการได้ไปสำรวจพื้นที่จริง





แหลมยายทิม


ขยะในบริเวณนี้มีจำนวนมากและส่งผลต่อสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเพราะเป็นที่ตั้งของโรงเผาขยะเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วแต่เปลี่ยนมาเผาในที่โล่งแจ้งแทนจึงทำลายบรรยากาศส่งผลให้อากาศร้อน ทัศนียภาพเสียหายเป็นอย่างมาก จากที่ลงไปศึกษาพื้นที่จริงแล้ว ได้พบว่า "ขยะ" ที่เผาแล้วหรือยังไม่ได้เผา กองระเกะระกะเป็นจำนวนมาก






วัตถุประสงค์

1. เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม

2. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม

3. เพื่อฝึกความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเอง

4. เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ผู้จัดทำโครงงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงสภาพปัญหาของสิ่งแวดล้อม

5. เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6. เพื่อยกระดับความสนใจด้านประเด็นสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย

1. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่

3. เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะและปัญหาต่างๆเกี่ยวกับขยะให้ถูกต้องถูกสุขลักษณะ

4. เพื่อฝึกกระบวนการคิดและวิเคราะห์ของกลุ่มเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อม

5. เพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่ม

6. เพื่อให้ได้รับความบันเทิงและสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

7. เพื่อให้ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

8. เพื่อให้เข้าใจระบบนิเวศน์ของตน

9. เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

10. เพื่อให้เข้าใจความรู้สึกและทัศนะคติส่วนส่วนตัวส่งผลต่อการกระทำอย่างไร11. เพื่อให้เข้าใจว่าการกระทำของคนเราส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง


หลักการและเหตุผล

จากการที่มนุษย์พยายามสร้าง และพัฒนาความเจริญให้สังคมที่ตนเองอาศัยอยู่โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้อย่างไม่ระมัดระวังทำให้ความสมดุลย์ทางธรรมชาติเสียไปดังนั้นจึงส่งผลให้ในปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมได้เสื่อมโทรมลงไปมากและเกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นจึงจำเป็นจะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ทางรัฐบาลเองต่างก็ตระหนักดีในปัญหาดังกล่าวนี้ โดยได้มีการกำหนดมาตรการและแผนงานต่าง ๆ มารองรับเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างเด็ดขาด ยังคงมีปัญหาขยะมูลฝอย ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ในเมืองหรือนอกเมืองก็ตาม
นอกจากนี้ปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจากผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรและมากกว่านั้นขยะมูลฝอยส่วนใหญ่จะถูกขนส่งและถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ในลักษณะของการเทกองกลางแจ้งและเผาเป็นครั้งคราวซึ่งการกำจัดโดยวิธีที่กล่าวมานี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยต่อผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงและยังทำลายชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำซึ่งมีสาเหตุมาจาก การชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคลงสู่แม่น้ำลำคลองหรือผิวดิน ทำให้เกิดการเน่าเสียค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจก่อให้เกิดแหล่งพาหะนำโรค และส่งกลิ่นเหม็นต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัญหาทรัพยากรที่ลดน้อยลง
กล่าวคือในขณะนี้ประเทศไทยได้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศในปริมาณที่เพิ่มขึ้นแต่สถานการณ์ในประเทศไทยกลับมีการทิ้งขยะมูลฝอยบางชนิดบางประเภทที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบใหม่ หรือนำมารีไซเคิลได้ใหม่แต่เนื่องจากการไม่ได้คัดแยกขยะของประชาชน จึงทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดมูลฝอยเหล่านี้ เป็นจำนวนมาอีกทั้งยังทำให้สูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศในการนำเข้าวัตถุดิบต่าง ๆ และยังทำให้ปริมาณการใช้วัตถุดิบในประเทศซึ่งนำมาจากทรัพยากรประเภทต่างสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยเรื่อยและยังทำให้ขยะที่เกิดจากการนำทรัพยากรต่างเหล่านี้มีเพิ่มขึ้น
เนื่องจากประชากรใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากสถิติของสำนักรักษาความสะอาดกรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่าภายในปี 2542ประชากรกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยวันละ 8,906 ตัน และขยะส่วนมากจะถูกลำเลียงไปฝังกลบที่ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม และ อ. ราชเทวะ จ. สมุทรปราการ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญของไจก้า (JICA)เคยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณขยะมูลฝอยในเขตกรุงเทพฯ และได้ประเมินปริมาณของขยะแต่ละปีในระยะ 20 ปีระหว่างปี พ.ศ. 2538-2558 โดยพบว่า ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 8ดังนั้นจนถึงปี 2558 กรุงเทพฯ จะมีปริมาณขยะสูงถึงวันละ 18,750 ตัน แล้วเราจะจัดการกับขยะจำนวนมหาศาลที่เพิ่มทุกวันนี้ได้อย่างไร ปริมาณของขยะที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้สะท้อนให้เห็นภาพสังคมที่เพิ่มกำลังการบริโภคขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าขยะทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนมีเส้นทางมาจากการใช้พลังงาน และทรัพยากร ยิ่งปริมาณขยะมากเท่าใดนั้นหมายถึงเราได้ดึงเอาพลังงานและทรัพยากรมาใช้มากขึ้นเท่านั้น โดยที่บางครั้งเราเองอาจตอบไม่ได้ว่าขยะบรรจุภัณฑ์ที่เราได้ทิ้งไปเหล่านั้น แท้จริงแล้วมีประโยชน์จริงหรือไม่วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวของรัฐดังที่ทราบมานั้น เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ รัฐบาลควรแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่ต้นเหตุ คือ การปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตและชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีแก้ไข คณะผู้จัดทำโครงงานได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ในบริเวณที่จำกัด แล้วจึงขยายโครงงานไปสู่ชุมชนสังคมและประเทศ ตามลำดับ โดยปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชน โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนุกสนานและสอดคล้องกับแผนงาน
ซึ่งจะน่าสนใจมากกว่าการเรียนรู้จากหนังสือหรือการท่องจำ ซึ่งกระบวนการที่ทำให้เห็นคุณค่า เกิดความตระหนัก และเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ด้วยการให้โอกาสทุกคนพัฒนาความรู้ เจตคติ ทักษะและการรู้จักตัดสินใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมเพื่อที่จะปกป้องและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ตลอดจนสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับบุคคล กลุ่มและสังคม โดยมีหลักการเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, การเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อม, การเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อม

วิธีการศึกษา

1 ได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่ง อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ แล้วนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำมาปรับปรุงแก้ไข
2 นำสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีปริมาณเฉลี่ยวันละ 58.80 กิโลกรัมแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขยะย่อยสลายได้ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล โดยมีปริมาณเฉลี่ย 32.76, 20.77 และ5.23 กิโลกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.77, 35.35 และ 8.88 ต่อวันตามลำดับและเมื่อนำระบบการคัดแยกขยะมาใช้ ทำให้สามารถนำขยะแต่ละประเภทไปจัดการได้อย่างเหมาะสม โดยขยะย่อยสลายได้นำไปทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพซึ่งนำไปทดลองปลูกต้นไม้ และปรับปรุงดินในแปลงสาธิต ขยะรีไซเคิลบางส่วนใช้เป็นอุปกรณ์ฝึกงานฝีมือ บางส่วนรวบรวมไว้เพื่อจำหน่าย สำหรับขยะทั่วไปที่ปล่อยออกสู่ชุมชนส่งให้ อบต. ดำเนินการจัดการต่อไป ผลปรากฎว่าการจัดการสามารถทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยของโรงเรียนที่ปล่อยออกสู่ ชุมชนลดลงร้อยละ 64.66 ของปริมาณขยะทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผลการฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนที่ผ่านการฝึกอบรมด้วยบทปฏิบัติสิ่งแวดล้อม ศึกษา เรื่อง การแยกขยะในโรงเรียน มีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติ เกี่ยวกับปัญหาขยะรวมทั้งการแยกและการใช้ประโยชน์จากขยะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรม 1 เดือนพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรื่องการแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น
ได้. ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาได้. ความรู้เกี่ยวกับ ขยะมูลฝอย วิธีกำจัด การแยกและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย

สรุปผล

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนับวันยิ่งทวีความรุนแรงและมี ผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก สาเหตุสำคัญของปัญหามาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น มนุษย์นำทรัพยากรในโลกมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตน โดยผ่านกระบวนการผลิต ก่อให้เกิดมลพิษและของเสียในแต่ละขั้นตอนของการผลิต ไม่เพียงเท่านั้นมนุษย์ยังมีวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ ความสวยงามของสินค้าและความสะดวกสบายในการบริโภค มีผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเกิดขึ้นมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการ ทำให้ปัญหาขยะมูลฝอยซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวที่สุดทวีความรุนแรงยุ่งยากและซับ ซ้อนขึ้นจากอดีตจนปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ได้พยายามรณรงค์และหาวิธีการต่าง ๆ มากมายเพื่อจะให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกและร่วมกันคัดแยกขยะอย่างถูกต้องแต่ยัง ไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนทั่วไป มีส่วนรับรู้ในเรื่องการจัดการขยะในขั้นตอนต่อไปน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่คิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน แต่เป็นหน้าที่ของรัฐ จึงไม่ให้ความร่วมมือในการทิ้งขยะลงถังที่จัดไว้หรือทิ้งขยะในที่สาธารณะ ไม่ช่วยกันลดปริมาณขยะและแยกขยะก่อนทิ้ง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาขยะจะต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรับผิดชอบใน การมีส่วนร่วมในการจักการปัญหาขยะให้หมดไปโรงเรียนวัดนาวง ตั้งอยู่ที่ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติเปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลประถมศึกษาและขยายโอกาสจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียน 830 คน ครู 40 คน ภารโรง 1 คน เป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งที่ประสบปัญหาขยะมูลฝอย เนื่องจากมีขยะมูลฝอยประมาณ 75 กิโลกรัมต่อวัน การจัดการมูลฝอยเป็นแบบทิ้งรวมกัน ประกอบกับเทศบาลไม่สามารถเก็บขนขยะได้ทุกวันเกิดขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ถังขยะไม่เพียงพอ ขยะล้นกระจัดกระจายทั้งบริเวณโรงเรียน ก่อให้เกิดสภาพไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยก่อความรำคาญจากกลิ่นเหม็น เป็นผลต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน ครู และประชาชน ที่อาศัยอยู่โดยรอบ เป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น สุนัข หนู แมลงวัน แมลงสาบและแมลงต่าง ๆปัญหาขยะในโรงเรียนวัดนาวง เป็นตัวอย่างของปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนของประเทศไทยที่สามารถแก้ไขได้ โดยการรณรงค์ให้ทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและสร้างจิตสำนึกให้ กับนักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนและกำลังสำคัญของชาติในอนาคตโดยสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ (Reduce) โดยการระลึกว่า “ยังใช้ได้อยู่(Reused)” “ยังพอแก้ไขได้(repair)” “มีพิษควรหลีกเลี่ยง (Reject)” “ควรหมุนเวียน กลับมาใช้ใหม่ (Recycle)” (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2543 : 3)และด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาซึ่งประกอบด้วยการสร้างกิจกรรมเพื่อนำไป สู่การสำรวจปัญหา บ่งชี้ปัญหา คิดและวางแผนแก้ไขปัญหา ด้วยตนเอง จะก่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาและห่วงใยสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะมีเจตคติมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานทั้งที่เป็นรายบุคคลและร่วมกัน เป็นกลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และเพื่อป้องกันปัญหามิให้เกิดขึ้นอีก เป็นรากฐานของการพัฒนาบุคลากรที่เป็นเยาวชน ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติให้มีคุณภาพและขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติต่อไป

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องจากครั้งนี้ โดยเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมายให้ครบทุกระดับตั้งแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความตระหนัก มีความเข้าใจและร่วมลงมือที่จะป้องกันและแก้ปัญหาขยะมูลฝอยไปในทิศทางเดียว กัน เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่กำลังล้นเมือง และลดค่าใช้จ่ายในการเผาและฝังกลบขยะมูลฝอยลงได้ในระดับหนึ่ง

2. ควรจะศึกษาการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากเรื่องขยะมูลฝอยเช่น เรทาง น้ำ พลังงาน เป็นต้น ปี 2545

ไม่มีความคิดเห็น: